วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม 2557    ( เรียนชดเชยวันที่ 23 )




ในวันนี้อาจารย์ได้สอนการเขียนแผนการสอนในหน่วยที่จะสอน ซึ่งมีหน่วยต่างๆดังนี้

หน่วยข้าว , หน่วยกล้วย , หน่วยไก่ , หน่วยน้ำ , หน่วยปลา , หน่วยผลไม้ , หน่วยต้นไม้ , หน่วยนม , หน่วยมะพร้าว , หน่วยกบ

การเขียนแผนนั้นต้องกระชับ ไม่เยอะเกินไปหรือน้อยเกินไป ต้องเขียนให้ตรงกับสิ่งที่สอน เนื้อหาต้องครอบคลุม เด็กต้องได้รับประสบการณ์ที่เหมาะกับพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย


     เทคนิคการสอน      

1. อาจารย์ได้อธิบายแนวการเขียน ให้แนวคิด และยกตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละหน่วย
2. เปิดโอกาสให้นักศึกษาคิดกิจกรรมในแผนการสอน และอาจารย์จะประเมินว่าคิดกิจกรรมหรือของเล่นของเราใช้ได้หรือไม่
3. ทักษะคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ เมื่ออาจารย์ถาม กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบ
4. อาจารย์ได้สอน และอธิบายหน่วยของทุกกลุ่มให้มีความรู้เพิ่มเติม หรือสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมของแต่ละหน่วย
5. อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดกับนักศึกษา เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาคิด และวิเคราะห์คำตอบออกมา




     การนำไปประยุกต์ใช้     

1. การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก และพัฒนาการเขียนแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. การนำแผนมาใช้ฝึกสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้เหมาะสมกับวัย
3. การเขียนที่สามารถบูรณาการให้เข้ากับวิชาอื่นได้
4. การเขียนแผนให้เข้ากับหน่วยที่เรียน หรือ หน่วยที่เด็กสนใจ
5. การเขียนแผนในแต่ละวัน โดยกิจกรรมไม่ซ้ำกัน



     ประเมินการเรียนการสอน     

ประเมินตนเอง     เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายตามระเบียบ ตั้งใจเรียน จดเนื้อหาเพิ่มเติม ให้ความร่วมมือในการเรียน ตอบคำถามของอาจารย์

ประเมินเพื่อน     แต่งกายตามระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์     แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา มีความตั้งใจในการสอน เปิดโอกาสให้เด็กถามคำถามที่ตนสงสัย ใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์ บอกวิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง





วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม 2557





    กิจกรรมในวันนี้เป็นการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์    




    โดยมีเพื่อนๆได้นำเสนอของเล่นดังนี้    


ลูกข่าง (ทำจากCD) , ไก่กระต๊าก , ขวดผิวปาก , หมู (จุดศูนย์ถ่วง) , กังหันลม , หลอดปั๊มน้ำ , ไหมพรหมเต้นระบำ , กล้องส่องทางไกล , กลองลูกโป่ง , หลอดหมุนได้ , ตุ๊กตาล้มลุก , ลูกปิงปองหมุนติ๊ว , เรื่อใบ , วงกลมหรรษา , รถพลังลม , ลูกข่าง (ทำจาก CD) , ลูกข่างหรรษา (ไม้ตะเกียบ) , นาฬิกาน้ำ , เสียงพลุ , ปืนลูกโป่ง , หนูน้อยกระโดดร่ม , ขวดหนังสติ๊๊ก , คลื่นทะเล , เหวี่ยงมหาสนุก , แท่นยิงลูกบอลจากไม้ไอติม , เครื่องร่อนวงแหวน , รถแข่ง , หลอดเสียงสูงต่ำ , โทรศัพท์จากแก้วพลาสติก , น้ำเปลี่ยนสี , หนังสติ๊กหรรษา , แม่เหล็กตกปลา , เชียร์หลีดเดอร์ , นักดำน้ำ , ลานหรรษา , ปิ้งป่อง , กระป๋องบูมเมอร์แรง , แมงปอหมุน , กบกระโดด , แก้วส่งเสียง , เป่าให้ลอย , หนังสติ๊กไม้ไอติม , แมงกะพรุน , มหัศจรรย์ฝาหมุน , แก้วกระโดด , ลูกโป่งไฟฟ้าสถิต , เครื่องบินกระดาษ


    โดยของดิฉันนั้นของเล่นวิทยศาสตร์ คือ เชียร์หลีดเดอร์ ( แตร )    



    อุปกรณ์    

แก้วโยเกิร์ต , ขวดน้ำ , แก้วสเลิฟปี้ , เทปกาว , กรรไกร , คัตเตอร์ , ลูกโป่ง



    วิธีทำ    

- ตัดท้ายแก้วโยเกิร์ตแล้วนำมาใส่ด้านบนของขวดแล้วนำมาพันกับเทปกาว ให้หัวขวดโผล่มานิดหน่อย
- ตัดท้ายขวดน้ำ
- เจาะท้ายแก้วสเลิฟปี้ แล้วนำก้นขวดน้ำไปใส่ท้ายแก้วสเลิฟปี้นำเทปกาวมาพัน
- เจาะรูเล็กๆที่แก้วโยเกิร์ต นำลูกโป่งมาครอบ แล้วเจาะรูลูกโป่งให้ตรงกับรูของแก้วโยเกิร์ต
- นำเทปกาวมาพันที่ขอบลูกโป่ง เพื่อไม่ให้ลูกโป่งหลุด
- ลองเป่าว่ามีเสียงหรือไม่ หากมีเสียงแล้วก้นำไปตกแต่งให้สวยงาม







**สื่อชิ้นนี้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คือ การสั่นสะเทือนของลูกโป่งโดยการเป่าลม และทำให้เกิดเสียง**






    ความรู้ที่ได้รับ    

- การนำเสนอหน้าชั้น ต้องมีความมั่นใจ พูดคำควบกล้ำให้ชัดเจน พูดจาชัดถ้อยชัดคำ ไม่พูดวกไปมา และเนื้อหาต้องครอบคลุม
- การเลือกใช้วัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์สื่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์
- การสอนเด็กทำของเล่นนั้น จะต้องมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน เด็กสามารถทำได้
- ของเล่นชั้นนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก
- การผลิตสื่อควรมีความหลากหลาย ทำให้เด็กเกิดการสังเกต การทดลอง การเปรียบเทียบ 
- การสอนเด็กครูต้องมีความรู้ ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นการสนับสนุนที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทราบถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ ว่า ทำไมของเล่นชิ้นนี้ถึงตั้งอยู่แบบเดิม เพราะ จุดศูนย์ถ่วง เป็นต้น




    เทคนิคการสอน    

- ทักษะการพูดหน้าชั้นเรียน
- การคิดการวิเคราะห์ การตอบคำถาม 
- การทำเสนอของเล่นทุกชิ้น จะมีคำถามจากอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้วิเคราะห์และตอบคำถาม
- การให้นักศึกษาสืบค้นของเล่นแต่ละชิ้น และ การประดิษฐ์ด้วยตนเอง
- เปิดโอกาสให้เพื่อนถามข้อข้องใจเกี่ยวกับของเล่นของผู้นำเสนอ




    ประเมินการเรียนการสอน    

ประเมินตนเอง     เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน นำเสนอหน้าชั้นเรียนอย่างมั่นใจ ตอบคำถามของอาจารย์ แสดงความคิดเห็น

ประเมินเพื่อน     ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย นำเสนอโดยมีความมั่นใจ ตอบคำถามของอาจารย์และเพื่อนได้ดี 

ประเมินอาจารย์     แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่ดี เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามคำถาม และตอบคำถาม อาจารย์อธิบายเนื้อหา หลักทางวิทยาศาตร์ได้ชัดเจน เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเพิ่มมากขึ้น




วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดีที่ 2 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557






   ชื่อกิจกรรม : รูดขึ้น รูดลง 
   อุปกรณ์  :  กระดาษ (Paper) , ดินสอ  (Pencil) , สี (Colour) , กรรไกร (Scissors) , กาว (Glue) , แกนทิชชู่ , ไหมพรม(Yarn) , ที่เจาะกระดาษ




    วิธีทำ   

1. ตัดกระดาษรูปวงกลม
2. วาดภาพระายสีตามจินตนาการ
3. ตัดครึ้งแกนทิชชู่
4. ใช้ที่เจาะกระดาษ เจาะแกนทิชชู่ ทั้ง 2 มุม จำนวน 4 รู
5. ทากาวที่กระดาษวงกลม แปะติดกับแกนทิชชู่ จากนั้นร้อยเชือกใส่ในรูที่เจาะไว้ พร้อมผูกปมเชือกให้        เรียบร้อย


   วิธีการเล่น   

     ใส่คล้องคอ แล้วใช้มือดึงเชือกทั้งซ้าย และขวา
จะเกิดการเปลี่ยนแปลง คือแกนทิชชู่จะรูดขึ้นรูดลงได้



   สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรัเด็กปฐมวัย   




   เทคนิคการสอน   

1. การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อฝึกกระบวนการคิด 
2. รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
3. เทคนิคการเขียนแผนที่ถูกต้อง
4. สอนแบบลงมือปฏิบัติจริง
5. การให้นั่งตามเลขที่ เพื่อให้คุยกันน้อยลง


   การประเมินการเรียนการสอน   

 ประเมินตนเอง     :    เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจเรียนร่วมแสดงความเห็น จดเนื้อหาที่เรียน

ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทุกคนได้ร่วม แสดงความคิดเห็น และตอบคำถามจากสิ่งที่อาจารย์ถาม

ประเมินอาจารย์   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิค ในการสอนโดยใช้คำถามถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษา ได้ถาม - แสดงความเห็น  มีการจัดกิจกรรมประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อน เด็กสามารถทำได้








บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันพฤหัสบดีที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557







  ชื่อกิจกรรม :  ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
  อุปกรณ์       :  กระดาษสี่รูปเหลี่ยมผืนผ้า  (Rectangle paper) , กรรไกร (Scissors)  , คลิปหนีบกระดาษ (Paper clip)





   ขั้นตอนการทำ   

1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. พับครึ่งกระดาษ
3. ตัดปลายกระดาษเข้าด้านในจนถึงครึ่ง
4. พับปลายกระดาษฝั่งตรงกันข้ามล็กน้อยแล้วใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบ
6. ตกแต่งตามจินตนาการ


   สิ่งที่เด็กได้รับ   

1. เรียนรู้เรื่องแรงโน้มถ่วง (Gravitation)
2. เรียนรู้เรื่องแรงต้านทาน (Resistance)
3. สังเกตการร่อนของกังหัน
4. เรียนรู้วิธีการโยน
5. ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือปฏิบัติ
6. เด็กได้คิดอย่างอิสระ


   สรุปบทความ   





   Mind map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ข้าว   




   สรุป Mind map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ข้าว   






   เทคนิคการสอน   

1. การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน เด็กสามารถทำได้
2. การใช้คำถามปลายเปิด
3. เปิดโอกาสการถามตอบ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
4. การสรุปในการทำ Mind map หน่วยการเรียนรู้


    การประเมินการเรียนการสอน   

     ประเมินตนเอง     : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งการถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น และทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน  จดบันทึกเนื้อหาที่เรียน

     ประเมินเพื่อน       : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น และตอบคำถามโดยมีการวิเคราะห์ จากสิ่งที่อาจารย์ถาม และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

     ประเมินอาจารย์   : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม มีเทคนิค ในการสอนโดยใช้คำถามถามปลายเปิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ถามและแสดงความเห็น  มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย