วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป โทรทัศน์ครู


ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร

คุณครูปราณี ศรีรักแก้ว โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี
แนะนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์­โดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียน ในระดับชั้นอนุบาล โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบ­วนการทางวิทยาศาสตร์ ให้ผู้เรียน


เพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานการสังเกต คิดวิเคราะห์ โดยเริ่มจากสร้างความสนใจให้กับเด็กให้อยากเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการเดินรอบๆโรงเรียน แล้วเก็บสิ่งของที่พบเจอมาจำแนก ว่าอะไรที่ลอยน้ำได้หรือจมน้ำได้ โดยมีเด็กคนนึงในห้อง หยิบดินน้ำมันมาแล้วนำไปทดลองในน้ำ ผลปรากฏว่าดินน้ำมันของเด็กจมน้ำ แล้วเด็กจึงถามครูว่า ทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงให้เด็กทดลอง โดยการให้เด็กเรียนรู้จากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยครูวางแผน ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เป็นรูปเลขาคณิต สามารถบูรณาการในรายวิชาคณิตศาสตร์ได้ด้วยเช่นเรื่องจำนวน และสี และครูออกแบบว่าจะจัดกระบวนการสังเกต สี  สำรวจ ว่าเด็กจะสำรวจอย่างไรให้มีระบบการคิด จึงออกแบบเป็นแผนภูมิตารางโดยมีสีรูปร่างและจำนวน และมีสรุปผลจากการเรียนรู้ว่า ดินน้ำมันแต่ละสี แต่ละรูปทรงนั้นมีกี่ก้อน


โดยเริ่มจากให้เด็กนับกก้อนดินน้ำมัน และ แปะภาพตามจำนวนที่เห็น โดยการทำงานเป็นกลุ่ม

 

หลังจากเด็กๆทำกิจกรรมแผนภูมิรูปภาพเสร็จแล้วครูก้จะแจกใบงาน ใบงานนี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนเรื่องนี้เด็กต้องมีการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่เด็กนำมาสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นอะไรได้บ้าง โดยให้เด็กคิดเอง เด็กบอกว่าจะปั้นเรือ คุณครูให้เด็กออกแบบเองแล้วให้เด็กปั้นตามที่เขาออกแบบ



แล้วนำไปทดลองโดยการลอยน้ำ


หลังจากทดลองแล้วเด็กๆก้จะวาดภาพสรุปผลการทดลองว่าเขาปั้นเรือใบลอยในน้ำได้ ผลการเป็นจริงเพราะลอยน้ำได้ แล้วให้เด็กๆแต่ละกลุ่มนั้นออกมานำเสนอผลงาน ว่ากลุ่มของเขาปั้นอะไร แล้วลอยหรือไม่ และให้ฟังกลุ่มอื่นด้วย เพราะว่าบางกลุ่มปั้นเรือเหมือนของคนอื่นแต่ของเขาจม แล้วเขามีวีธีการแก้ปัญหาว่าทำอย่างไรให้ดินน้ำมันของเขาลอยได้ โดยการทำขอบให้สูงขึ้น และให้เด็กแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน


สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ไปเรื่องการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร สิ่งที่เด็กได้อันดับแรกคือ 
1. การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน ว่าก่อนปั้นมีรูปทรงอย่างไร เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นรูปอะไร ถึงจะลอยน้ำได้ ที่สำคัญคือเด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง คิดด้วยตนเอง และได้ออกแบบจากการคิดของเขา การออกแบบโดยการตั้งสมมติฐานของเขาเอง
2. การพัฒนาการใช้ภาษา การสื่อสาร การอธิบาย สิ่งที่เขาทำว่าปั้นอย่างไร เด็กได้พูดคุยกัน

สิ่งที่เด็กได้จากกระบวนการทางวิทยาศาตร์คือ 
1. ทักษะการสังเกต 
2. ทักษะการสื่อความหมาย
3. การตั้งสมมติฐาน
4. การทดลอง ปฎิบัติจริง
5. การลงความเห็น 

ดังนั้นครูควรปลูกฝังให้เด้กรักวิทยาศาสตร์ เรียนให้สนุกและเป็นพื้นฐานให้กับเด็ก โดยเริ่มจากการที่ครูให้เด็กสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และให้เด้กได้ทดลอง ปฎิบัติจริง แล้วเด็กก็จะเกิดทักษะการคิด และให้คิดแบบมีระบบ โดยครูออกแบบกิจกรรมการสอนในแต่ละเรื่อง ว่าอยากให้เขารู้ในเรื่องใด

บทบาทของครูคือการให้ความช่วยเหลือกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กคิดเอง ได้ลงมือปฎิบัติเอง แล้วครูให้คำแนะนำเขา หรือให้เพื่อนแนะนำ ฝึกให้เขายอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพฤหัสบดีที่   20 พฤศจิกายน  2557


การเรียนการสอนในวันนี้ 

เริ่มต้นจากการนำของเล่นมาจัดหมวดหมู่

   จุดศูนย์ถ่วง   




   แรงดันลม   




   การเกิดเสียง   





   พลังงาน   




   สื่อตามมุม (วิทยาศาสตร์)   




   แรงดันน้ำ   





    กิจกรรมที่ 2 เป็นการนำเสนอวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับด็กปฐมวัย    


1. วิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยช้รูปเเบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย : ณัฐชุดา สาครเจริญ  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้นำเสนอวิจัย : นางสาว ชนากานต์  มีดวง

2. วิจัยเรื่อง ผลการบันทึกการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย :
ผู้นำเสนอวิจัย : นางสาว สุธิดา คุณโตนด

3. วิจัยเรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้
ผู้วิจัย:  เสาวภาคย์ สว่างจันทร์
ผู้นำเสนอวิจัย :นางสาว ธิดารัตน์ สุทธิผล

4. วิจัยเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ผู้วิจัย : อัจฉราภรณ์ เชื้อกลาง
ผู้นำเสนอวิจัย : นางสาว ธนภรณ์  คงมนัส


กิจกรรมที่ 3 เป็นกิจกรรม Cooking การทำวาฟเฟิล โดยการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7 - 8 คน


   โดยมีอุปกรณ์ดังนี้   

1. ไข่ไก่
2. น้ำ
3. แป้งวาฟเฟิล
4. เนย



   เมื่อผสมแป้งเสร็จหมดทุกขั้นตอนแล้วนั้น ก้นำมาตักใส่ถ้วยเล็กๆ   



   จำนวน 8 ใบ ตามจำนวนสมาชิก   




 จากนั้นรอคิวไปใส่เตาวาฟเฟิล แต่ก่อนจะลงแป้งนั้น ต้องทาเนยก่อน เพื่อให้แป้งไม่ติดเตา 




และแล้วก้ออกมาเป็นวาฟเฟิลแสนอร่อยยยย   




   เทคนิคการสอน   

- การถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาใช้ความคิด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- การสาธิตวิธีการทำ Cooking ให้ดูก่อนการลงมือปฎิบัติ
- การแนะนำงานวิจัย แนะนำหลังการนำเสนอ
- การค้นค้วางานวิจัยด้วยตนเอง
- ฝึกการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
- การทำ Cooking โดยการลงมือปฎิบัติ


    การประยุกต์ใช้    

- การทำ Cooking ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของเด็กเป็นหลัก
- การสอนเด็กควรสาธิตให้ดู และให้ทำทีละกลุ่ม และอยู่ในความดูแลของครู
- ของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถผลิตได้จากของเหลือใช้
- การนำบทวิจัยมาปรับใช้ในการสอน
- ของเล่นในคาบนี้สามารถนำไปผลิตให้เด็กเล่นได้จริง หรือจัดไว้ตามมุม
- การเขียนแผน โดยการบูรณาการในการเรียนวิทยาศาสตร์



    การประเมิน    

ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนอวิจัย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน ไม่คุยในเวลาเรียน  ตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถาม รับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ ทำงานเป็นกลุ่มโดยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน  :  แต่งกายตามระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน ไม่คุยวอกแวก ช่วยกันตอบคำถามของอาจารย์ บรรยากาศในห้องเป็นแบบผ่อนคลาย 

ประเมินอาจารย์  :  มีการรูปแบบการทำ Cooking เหมาะสม เพราะเรียนแต่ละคาบนั้นเนื้อหาล้วนๆ แต่ในวันนี้เป็นการลงมือปฎิบัติ บรรยากาศในห้องไม่เคร่งเครียด อาจารย์มีมุกตลกมาปล่อยให้นักศึกษาได้ตลกเฮฮากัน มีการแนะนำ เสนอแนะในรายละเอียดของงานวิจัยให้นักศึกษาเห็นภาพมากขึ้น สนใจฟังในขณะที่นักศึกษานำเสนอ เอาใจใส่นักศึกษาเป็นอย่างดี อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา การแต่งกายสุภาพเรียบร้อย