วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุป โทรทัศน์ครู


ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร

คุณครูปราณี ศรีรักแก้ว โรงเรียนอนุบาลเมืองอุทัยธานี จ.อุทัยธานี
แนะนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์­โดยใช้วิธีสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียน ในระดับชั้นอนุบาล โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบ­วนการทางวิทยาศาสตร์ ให้ผู้เรียน


เพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานการสังเกต คิดวิเคราะห์ โดยเริ่มจากสร้างความสนใจให้กับเด็กให้อยากเรียนวิทยาศาสตร์ โดยการเดินรอบๆโรงเรียน แล้วเก็บสิ่งของที่พบเจอมาจำแนก ว่าอะไรที่ลอยน้ำได้หรือจมน้ำได้ โดยมีเด็กคนนึงในห้อง หยิบดินน้ำมันมาแล้วนำไปทดลองในน้ำ ผลปรากฏว่าดินน้ำมันของเด็กจมน้ำ แล้วเด็กจึงถามครูว่า ทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอยน้ำได้ ครูจึงให้เด็กทดลอง โดยการให้เด็กเรียนรู้จากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ โดยครูวางแผน ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ เป็นรูปเลขาคณิต สามารถบูรณาการในรายวิชาคณิตศาสตร์ได้ด้วยเช่นเรื่องจำนวน และสี และครูออกแบบว่าจะจัดกระบวนการสังเกต สี  สำรวจ ว่าเด็กจะสำรวจอย่างไรให้มีระบบการคิด จึงออกแบบเป็นแผนภูมิตารางโดยมีสีรูปร่างและจำนวน และมีสรุปผลจากการเรียนรู้ว่า ดินน้ำมันแต่ละสี แต่ละรูปทรงนั้นมีกี่ก้อน


โดยเริ่มจากให้เด็กนับกก้อนดินน้ำมัน และ แปะภาพตามจำนวนที่เห็น โดยการทำงานเป็นกลุ่ม

 

หลังจากเด็กๆทำกิจกรรมแผนภูมิรูปภาพเสร็จแล้วครูก้จะแจกใบงาน ใบงานนี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนเรื่องนี้เด็กต้องมีการคาดคะเนก่อนว่า ดินน้ำมันที่เด็กนำมาสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นอะไรได้บ้าง โดยให้เด็กคิดเอง เด็กบอกว่าจะปั้นเรือ คุณครูให้เด็กออกแบบเองแล้วให้เด็กปั้นตามที่เขาออกแบบ



แล้วนำไปทดลองโดยการลอยน้ำ


หลังจากทดลองแล้วเด็กๆก้จะวาดภาพสรุปผลการทดลองว่าเขาปั้นเรือใบลอยในน้ำได้ ผลการเป็นจริงเพราะลอยน้ำได้ แล้วให้เด็กๆแต่ละกลุ่มนั้นออกมานำเสนอผลงาน ว่ากลุ่มของเขาปั้นอะไร แล้วลอยหรือไม่ และให้ฟังกลุ่มอื่นด้วย เพราะว่าบางกลุ่มปั้นเรือเหมือนของคนอื่นแต่ของเขาจม แล้วเขามีวีธีการแก้ปัญหาว่าทำอย่างไรให้ดินน้ำมันของเขาลอยได้ โดยการทำขอบให้สูงขึ้น และให้เด็กแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กัน


สิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ไปเรื่องการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่อง ดินน้ำมันลอยน้ำได้อย่างไร สิ่งที่เด็กได้อันดับแรกคือ 
1. การสังเกต สี รูปทรง ของดินน้ำมัน ว่าก่อนปั้นมีรูปทรงอย่างไร เมื่อปั้นแล้วเปลี่ยนแปลงเป็นรูปอะไร ถึงจะลอยน้ำได้ ที่สำคัญคือเด็กได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง คิดด้วยตนเอง และได้ออกแบบจากการคิดของเขา การออกแบบโดยการตั้งสมมติฐานของเขาเอง
2. การพัฒนาการใช้ภาษา การสื่อสาร การอธิบาย สิ่งที่เขาทำว่าปั้นอย่างไร เด็กได้พูดคุยกัน

สิ่งที่เด็กได้จากกระบวนการทางวิทยาศาตร์คือ 
1. ทักษะการสังเกต 
2. ทักษะการสื่อความหมาย
3. การตั้งสมมติฐาน
4. การทดลอง ปฎิบัติจริง
5. การลงความเห็น 

ดังนั้นครูควรปลูกฝังให้เด้กรักวิทยาศาสตร์ เรียนให้สนุกและเป็นพื้นฐานให้กับเด็ก โดยเริ่มจากการที่ครูให้เด็กสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา และให้เด้กได้ทดลอง ปฎิบัติจริง แล้วเด็กก็จะเกิดทักษะการคิด และให้คิดแบบมีระบบ โดยครูออกแบบกิจกรรมการสอนในแต่ละเรื่อง ว่าอยากให้เขารู้ในเรื่องใด

บทบาทของครูคือการให้ความช่วยเหลือกับเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กคิดเอง ได้ลงมือปฎิบัติเอง แล้วครูให้คำแนะนำเขา หรือให้เพื่อนแนะนำ ฝึกให้เขายอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น