วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน 2557




วันนี้มีการนำเสนอวิจัยของแต่ละคน โดยเริ่มจาก



1.  เรื่องการส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการสังเกตสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น
2. เพื่อให้นักเรียนนำทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เเบบประเมินทักษะการสังเกตการเล่นเกม5เกม
1. เกมจับคู่ภาพเหมือน
2. เกมจับคู่ภาพกับเงา
3. เกมภาพตัดต่อ
4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ

สรุปผลการวิจัย
         การส่งเสริมทักษะการสังเกตของนักเรียนชั้นอนุบาล3 พบว่าเด็กนักเรียนอนุบาล 3 มีทักษะการสังเกตสูงขึ้น


2. เรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. เเผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดลองทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

สรุปผลการวิจัย
         เมื่อฟังนิทานจบเด็กได้ประดิษฐ์ ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง


3. เรื่องการศึกษาผลของรูปเเบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด๋กปฐมวัย

จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง

สรุปผลการวิจัย

         ก่อนทดลองเเละหลังทดลอง ซึ่งเป็นวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับปฐมวัย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ทำการทดสอบด้วยเเบบทดสอบจนครบ 8 สัปดาห์ เมื่อเสร็จการทดลองก็นำเเบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาทดสอบอีกครั้งเเล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ


4. เรื่องผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ความมุ่งหมายของการวิจัย 
1. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติก่อนและหลังการทดลอง

ครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 2.1 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ 
 2.2 แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร

สรุปผลการวิจัย
1. ก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง  หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์สูงขึ้นกวาก่อนใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยางมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


5. เรื่องกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ

เครื่องที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ 40 แผน
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาตร์
- การจำเเนก
- การวัดปริมาณ
- การหามิติสัมพันธ์
- การลงความเห็น

สรุปผลการวิจัย

เน้นเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน โดยให้เด็กทำแป้งโด แล้วนำมาเล่นตามจินตนาการ ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนของจอห์น ดิวอี้


6. เรื่องการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร

ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการฟัง
- ทักษะการสังเกต
- ทักษะการคิดแก้ปัญหา
- ทักษะการใช้เหตุผล

สรุป 
   เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม


7. เรื่องการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

จุดมุ่งหมายของการวิจัย
           เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ  

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
     1.1) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
     1.2) แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบปกติ
2. แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล จำนวน 50 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ชุดได้เเก่ 
1) แบบทดสอบด้านการจำเเนก  
2)การจัดประเภท  
3)อุปมาอุปมัย  
4)อนุกรม 
5)เเบบทดสอบสรุปความรู้

สรุปผลการวิจัย
      หลังการทดลองมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลเเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5



   เทคนิคการสอน    

- อธิบายเนื้อหาในงานวิจัยให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
- แนะนำวิธีการที่หลากหลาย
- ถามคำถามเพื่อกระตุ้นคิด
- การใช้คำถามปลายเปิด
- การให้ค้นคว้าหาวิจัยด้วยตนเอง
- ฝึกให้นักศึกษาสรุปงานวิจัย
- ถามคำถามเมื่อจบการนำเสนอ ไม่ขัดขณะที่นำเสนอ


   การประยุกต์ใช้    

- สามารถนำเรื่องใกล้ตัวมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้
- การถามคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิด
- รับฟังทุกความเห็นของเด็ก โดยไม่มีถูกไม่มีผิด
- การจัดกิจกรรมที่บูรณาการหลากหลายวิชา เช่น วิทยาศาสตร์
- การนำงานวิจัยมาส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก


   การประเมิน   

ประเมินตนเอง  :  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังการบรรยายของเพื่อน ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำเพิ่มเติม จดบันทึกในสิ่งที่เพื่อนบรรยาย แต่งกายถูกระเบียบ 

ประเมินเพื่อน  :  ตั้งใจฟัง ตั้งใจจดบันทึก คนที่พูดก้ตั้งใจบรรยายเพื่อให้เพื่อนเข้าใจในงานวิจัยของตนเอง การแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินอาจารย์  :  เข้าสอนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ  อธิบายในงานวิจัยให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาคิด มีมุกมาเสริมเพื่อให้บรรยากาศไม่เคร่งเครียด บรรยากาศในห้องสนุกสนาน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น