สรุปวิจัย
การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย ณัฐชุดา สาครเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
การศึกษานี้เป็นแนวทางสำหรับครูที่ใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนด้วยการนำกระบวนการวิธีของศิลปะรูปแบบต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัย
โดยครูได้พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ใหม่ๆให้เด็กและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.
ศึกษาระดับการพัฒนาของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.
เปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1.
ตัวแปรอิสระ
ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.
ตัวแปรตาม
ได้แก่ ทักษะวิทยาศาสตร์ 6 ด้าน ดังนี้
2.1 การสังเกต 2.4
มิติสัมพันธ์
2.2 การจำแนก 2.5 การสื่อสาร
2.3 การวัด 2.6
การลงความเห็น
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.
เด็กปฐมวัย
เด็กอายุ 5-6 ปี
ซึ่งเรียนอยู่ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสามเสนนอก
2.
การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัย
6 ด้าน
ซึ่งประเมินได้จากแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.
รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในการวิจัยนี้ จำแนกเป็น 6 ลักษณะ
3.1 ศิลปะย้ำ 3.4
ศิลปะถ่ายโยง
3.2 ศิลปะปรับภาพ 3.5
ศิลปะบูรณาการ
3.3 ศิลปะเลียนแบบ 3.6
ศิลปะค้นหา
กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนนอก
ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มด้วยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 6
ห้องเรียน แล้วจับฉลากนักเรียน เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15
คน
วิธีการดำเนินการวิจัย
1.
กำหนดกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี อยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนนอก ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มด้วยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจาก 6 ห้องเรียน แล้วจับฉลากนักเรียน
เพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้
1.
แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2.
แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
1.
พัฒนาการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้โดยภาพรวมและจำแนกตามทักษะอยู่ในระดับดี
2.
พัฒนาการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังจัดกิจกรรมรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.1
ตัวอย่างแผน
แผนการเรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
1. หน่วยเรื่องของใช้
1.3 เรื่องย่อย เครื่องครัว
มโนทัศน์
เครื่องครัว คืออุปกรณ์การทำอาหาร
ได้แก่ กระทะ ตะหลิว ทัพพี หม้อ
จุดประสงค์
1.
ให้จำเครื่องคัว กระทะ ตะหลิว ทัพพี หม้อ ได้
2. พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-
การสังเกต :
บอกลักษณะที่แตกต่างของเครื่องครัวได้
- การจำแนก : จำแนกเครื่องครัวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
- การลงความเห็น : สรุปตัวอย่างเครื่องครัวได้
รูปแบบศิลปะที่ใช้ในการเรียนรู้ ศิลปะย้ำ
กระบวนการเรียนการสอน
|
กิจกรรมครู
|
สื่อ
|
1.
กระตุ้นการเรียนรู้
|
||
-
ให้สิ่งเร้า
|
1.ครูให้เด็กดูอาหารดังนี้
|
- แกงจืด
|
-
แกงจืด 1 ถ้วย
|
-ไข่เจียว
|
|
-
ไข่เจียว 1 จาน
|
-ผัดผัก
|
|
-
ผัดผัก 1 จาน
|
||
-จูงใจให้คิดตาม
|
2.ร่วมกันสนทนาและตอบคำถามดังนี้
|
|
-
อาหารแต่ละอย่างมีเครื่องปรุงอะไรบ้าง
|
||
-
เราทำอาหารเหล่านี้จะมีเครื่องครัวอะไรบ้าง
|
||
2.นำสู่มโนทัศน์
|
||
-ทำให้สะท้อนคิดโยงความรู้
|
3.ครูให้เด็กแบ่งกลุ่ม 5 คนให้แต่ละกลุ่มเลือก
|
-อุปกรณ์ในการทำ
|
ทำอาหารกลุ่มละ
1 อย่าง
|
อาหาร
|
|
-
กลุ่มที่ 1 ทำแกงจืดลูกชิ้น
|
1.แกงจืดลูกชิ้น
|
|
-
กลุ่มที่ 2 ทำไข่เจียว
|
2.ไข่เจียว
|
|
-
กลุ่มที่ 3 ทำผัดแตงกวาใส่ไข่
|
3.ผัดแตงกวาใส่ไข่
|
|
4.ให้เด็กลงมือทำอาหารทีละกลุ่ม
|
||
5.เมื่อทำครบทุกกลุ่ม ให้แลกเปลี่ยนกันชิม
|
||
-ตอบสิ่งที่เรียน
|
6.ร่วมกันสนทนาตอบคำถาม
|
|
-เครื่องครัวมีอะไรบ้าง
|
||
-เด็กๆใช้เครื่องครัวอะไรในการทำแกงจืดลูกชิ้น
|
||
-เด็กๆใช้เครื่องครัวอะไรในการทำไข่เจียว
|
||
-เด็กๆใช้เครื่องครัวอะไรทำผัดแตงกวาใส่ไข่
|
||
3.พัฒนาด้วยศิลปะ
|
||
-
นำความรู้สู่งานศิลป์
|
7.ครูแจกใบงานภาพกระทะ ทัพพี ตะหลิว หม้อ มีด
|
-ใบงานภาพ
|
ให้เด็กฉีกปะกระดาษสีตามใจชอบ
|
เครื่องครัว
|
|
กระทะ
ตะหลิว หม้อ มีด
|
||
3.สรุปสาระที่เรียนรู้
|
||
-
อธิบายงานที่ทำ
|
9.ให้เด็กอธิบายงานที่ทำ
|
-ผลงานเด็ก
|
-เครื่องครัวที่ฉีกปะสามารถทำอาหารอะไรได้บ้าง
|
||
-ให้เด็กบอกลักษณะที่แตกต่างของเครื่องครัว
|
||
-
อภิปรายและสรูปสิ่งที่เรียนรู้
|
10.เด็กและครูร่วมกันสนทนาถามตอบ
|
|
-เครื่องครัวมีอะไรบ้าง
|
||
-ใช้งานแตกต่างกันอย่างไร
|
||
-เครื่องครัวแต่ละอย่างมีความแตกต่างกัน
|
||
11.เด็กนำผลงานไปแสดงที่ป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน
|
การประเมินผล
1. บอกเครื่องครัวอย่างน้อย
3
อย่าง
2. บอกความแตกต่างเครื่องครัวได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น