วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม 2557




   ความรู้ที่ได้รับ   


   สาระที่ควรเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย   

1. ธรรมชาติรอบตัว
2. บุคคลและสถานที่
3. เกี่ยวกับตนเอง
4. สิ่งต่างๆรอบตัว


   ประสบการณ์สำคัญ    

ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ เพราะได้ลงมือกระทำ และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่


  กระบวนการทดลอง   

1. กำหนดปัญหา
2. ตั้งสมมุติฐาน
3. ทดลอง


   ทักษะทางวิทยาศาสตร์   
  
1. การสังเกต
2. การจำแนกประเภท
3. การวัด
4. การหาความสัมพันธ์
5. การลงความเห็นจากข้อมูล
6. การจัดการกระทำ และการสื่อความหมายของข้อมูล
7. การพยากรณ์
8. การคำนวณ




   การทดลอง   

   การทดลองที่ 1   

ปั้นดินน้ำมันกลมๆ แล้วหย่อนลงโหลที่เตรียมไว้
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมัน จมน้ำ


   การทดลองที่ 2   

อาจารย์ให้คำถามมาว่า ทำอย่างไร ไม่ให้ดินน้ำมันจม
ดิฉันจึงปั้นเป็นรูปถ้วย 
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ดินน้ำมันไม่จม



   การทดลองที่ 3   

ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ แล้วพับกลีบ จากนั้นนำไปไว้ในโหลที่เตรียมไว้ 
จากนั้นกลีบจึงค่อยๆบาน ซึ้งเกิดจากการดูดน้ำ หากกระดาษเป็นกระดาษร้อยปอนด์
น้ำจะซึมช้ากว่าดอกไม้ที่ทำจากกระดาษ เอ4 


   การทดลองที่ 4   

เจาะรูไว้ที่ขวดน้ำ 3 รูตามแนวตั้งของขวด ปิดเทปไว้ที่รู 
แล้วใส่น้ำลงไปในขวด เกือบเต็มขวด
1. ทดสอบปิดเทปรูที่ 1 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาค่อยๆ
2. ทดสอบปิดเทปรูที่ 2 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1
3. ทดสอบปิดเทปรูที่ 3 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ น้ำไหลออกมาแรงกว่ารูที่ 1 และรูที่ 2
สรุป คือ รูล่างสุดนั้นไกลได้ไกลกว่ารูอื่น เพราะ มีแรงดันอากาศมาก


   การทดลองที่ 5   

นำขวดมาเจาะรูด้านข้าง และใส่น้ำลงไปในขวด เมื่อปิดฝาขวดน้ำจะไม่ไหลออกมา
แต่เมื่อเปิดฝาขวด น้ำจะไหลออกมาเพราะมีอากาศ


   การทดลองที่ 6   

เจาะรูที่ขวดน้ำ 1 รู ต่อสายยางออกมาจากปลายขวด และมีถ้วยสำหรับรองรับน้ำด้วย
จะเห็นได้ว่า  ถ้ายกขวดน้ำอยู่สูงกว่าที่รองรับ จะทำให้น้ำไหลลงสู่ที่รองรับ 
                      แต่ถ้าขวดน้ำอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่รองรับ  น้ำก็จะไม่ไหล
สรุป คือ น้ำมีการไหลจากที่สู่ลงสู่ที่ต่ำเสมอ



   การทดลองที่ 7     
จุดเทียนและนำแก้วใสมาครอบ สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าเมื่อครอบแก้วลงที่เทียนไปแล้วจะทำให้เทียนที่ติดไม่นั้นดับลง  เนื่องจาก ภายในแก้วนั้นไม่มีอากาศ ไฟจึงค่อยๆดับลง





   การทดลองที่ 8   

จุดเทียนไว้ในจาน เทน้ำลงไปในจาน จากนั้นนำแก้วมาครอบเทียนจะสังเกตได้ว่า เมื่อเทียนดับน้ำภายนอกแก้วจะเข้าไปอยู่ภายในแก้ว
สรุป  เพราะ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ทำให้ดูดอากาศและดึงเอาน้ำที่อยู่ภายนอกแก้วเข้าไปภายในแก้ว





   การทดลองที่ 9     

เทน้ำใส่ในแก้ว นำปากกาจมลงไปในแก้วน้ำ สังเกตได้ว่า เมื่อปากกาอยู่ในน้ำจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อยกขึ้นจากน้ำก็จะเป็นสภาพเดิม
สรุป การมองเห็นแบบนี้เนื่องจากการหักเหของแสงนั่นเอง






   เทคนิคการสอน   

1. เป็นการทดลองที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย
2. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นความคิด
3. การมีความคิดสร้างสรรค์ การแก้ไขปัญหา
4. การให้นักศึกษาตั้งสมมติฐาน และทดลองด้วยตนเอง
5. มีอุปกรณ์ที่หลากหลายในการทดลอง


   การนำไปใช้   

1. สามารถจัดประสบการณ์จากการทดลองจากสิ่งต่างรอบๆตัวเด็ก
2. สามารถนำขั้นตอนไปไปสอนเด็กได้เพราะไม่ซับซ้อน
3. การนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม


   การประเมิน   


ประเมินตนเอง   :   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกันตอบคำถาม ตั้งใจเรียน แก้ปัญหาจากคำถามที่อาจารย์ถามได้ เช่น ทำอย่างไรให้ดินน้ำมันลอย ดิฉันจึงปั้นเป็นทรงกระทะ และเมื่อนำไปลอยแล้ว น้ำมันมันจึงลอย 

ประเมินเพื่อน   :   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายตามระเบียบ ตั้งใจเรียน ไม่คุย แก้ปัญหาจากคำถามได้ดี 

ประเมินอาจารย์   :   มีความเอาใจใส่นักศึกษาเป็นอย่างดี อะไรที่นักศึกษาไม่เข้าใจก้อธิบายอย่างละเอียด เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามข้อข้องใจ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ มีความมุ่งมั่นในการสอน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น